โพรไบโอติก และ พรีไบโอติก เป็นคำที่มักถูกกล่าวถึงร่วมกันบ่อยๆ ในวงการสุขภาพ แต่หลายคนอาจยังไม่เข้าใจถึงความแตกต่างระหว่างโพรไบโอติกและพรีไบโอติก ว่าแต่ละตัวมีหน้าที่อย่างไร และมีความสำคัญต่อร่างกายของเราอย่างไรบ้าง มาไขข้อข้องใจกันเลยค่ะ
โพรไบโอติก (Probiotic) คืออะไร?
- โพรไบโอติกคืออะไร: คือจุลินทรีย์ชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่ในร่างกาย โดยเฉพาะในระบบทางเดินอาหาร ซึ่งมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย เมื่อเราได้รับโพรไบโอติกในปริมาณที่เพียงพอ จะช่วยให้ร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
- ประโยชน์ที่สำคัญของโพรไบโอติก โพรไบโอติกจะเข้าไปช่วยรักษาสมดุลของแบคทีเรียดีและแบคทีเรียไม่ดีในลำไส้ ทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น ลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องผูก และท้องเสีย มีส่วนช่วยกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ดีขึ้น ช่วยป้องกันการติดเชื้อ และลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ โพรไบโอติกบางชนิดอาจช่วยลดอาการแพ้ได้ เช่น อาการแพ้อาหาร หรือโรคภูมิแพ้ นอกจากนั้นการรับประทานโพรไบโอติกอย่างสม่ำเสมออาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรัง โพรไบโอติกบางชนิดช่วยในการย่อยอาหาร และดูดซึมสารอาหาร ทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบถ้วน อีกด้วย นอกจากนั้นโพรไบโอติกบางสายพันธุ์ยังช่วยดูแลช่องปาก ผิวพรรณ รวมทั้งช่วยลดอาการผิดปกติของระบบภายในผู้หญิงเช่นอาการตกขาว ช่องคลอดอักเสบ ต่างๆ เป็นต้น
- โพรไบโอติกพบได้จากอะไร: เราสามารถพบโพรไบโอติกได้ในนมเปรี้ยว โยเกิร์ต กิมจิ มิโสะ ผักดอง และอาหารหมักดองต่างๆ
พรีไบโอติก (Prebiotic) คืออะไร?
- พรีไบโอติกคืออะไร: พรีไบโอติกเป็นใยอาหารชนิดหนึ่งที่ร่างกายไม่สามารถย่อยได้ แต่เป็นอาหารของโปรไบโอติกส์
- พรีไบโอติกทำหน้าที่อะไร: พรีไบโอติกทำหน้าที่เป็นอาหารบำรุงโพรไบโอติก ช่วยให้โพรไบโอติกเจริญเติบโตและทำงานได้ดีขึ้น ช่วยกระตุ้นการทำงานของลำไส้
- แหล่งพบพรีไบโอติก: เราสามารถพบเจอพรีไบโอติกได้จากหัวหอม กระเทียม ถั่วเหลือง ถั่วแดง กล้วย และผักใบเขียว เป็นต้น
สรุปง่ายๆ: โพรไบโอติกคือ “จุลินทรีย์ที่ดี” ที่มีชีวิต ส่วนพรีไบโอติกคือ “อาหาร” ที่ช่วยให้จุลินทรีย์ที่ดีเหล่านั้นทำงานได้ดีขึ้น
ทำไมต้องทานโพรไบโอติกและพรีไบโอติกคู่กัน?
การทานโพรไบโอติกและพรีไบโอติกคู่กัน หรือที่เรียกว่า ซินไบโอติก (Synbiotic) จะช่วยให้ได้ประโยชน์สูงสุด เพราะพรีไบโอติกจะไปบำรุงโพรไบโอติก ทำให้โพรไบโอติกมีปริมาณมากขึ้นและทำงานได้ดีขึ้น ส่งผลให้สุขภาพลำไส้แข็งแรงขึ้น และมีผลดีต่อสุขภาพโดยรวม
วิธีรับประทานโพรไบโอติก
- อาหาร: อาหารที่มีโพรไบโอติกสูง ได้แก่ โยเกิร์ต กิมจิ มิโซะ และผักดองบางชนิด
- ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร: สามารถรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีส่วนผสมของโพรไบโอติกได้ และแนะนำรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีส่วนผสมของโพรไบโอติกและพรีไบโอติกเพื่อความสะดวกในการรับประทาน
——–
บทความเพื่อเผยแพร่ความรู้ อ้างอิงจากบทความงานวิจัยที่เผยแพร่ทั่วไป มิได้หมายถึงสรรพคุณหรือคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารใดๆ